พยางค์
พยางค์ คือ เสียงพูดที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม
แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
การนำสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าประกอบเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี ๔ วิธี คือ
คำ
|
พยัญชนะต้น
|
สระ
|
ตัวสะกด
|
วรรณยุกต์
|
ตัวการันต์
|
๑. การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ
และวรรณยุกต์
|
|||||
กา
|
ก
|
อา
|
-
|
สามัญ
|
-
|
๒. การประสมสี่ส่วน คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ
พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ ตัวสะกด และวรรณยุกต์
|
|||||
เกิด
|
ก
|
เออ
|
ด
|
เอก
|
-
|
๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ
คือ
การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น
สระ
พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง
หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์
|
|||||
เท่ห์
|
ท
|
เอ
|
-
|
โท
|
ห
|
๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ
ตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์
|
|||||
สิงห์
|
ส
|
อิ
|
ง
|
จัตวา
|
ห
|
พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ แต่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด หรืออยู่มาตราตัวสะกดแม่ ก กา นั่นเอง
พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และ เสียงพยัญชนะสะกด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น